---

           ประวัติ วัดป่าดงยาง เป็นที่ราชพัสดุ มีเนื้อที่ 300 ไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ลักษณะเป็นเนินที่ราบสูง อยู่กึ่งกลางระหว่าง 3 ตำบลคือ  1 ต.สวนจิก  2 ต.หนองใหญ่  3 ต.เมืองเปลือย  อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด และอยู่กึ่งกลางระหว่าง 5 หมู่บ้าน คือ 1.บ้านหนองม่วง (ทิศตะวันออก) 2.บ้านท่าแร่ (ทิศใต้) 3.บ้านกอก (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) 4.บ้านเหล่าอาราง (ทิศตะวันตก) 5.บ้านเหล่ากลาง  (ทิศเหนือ) สมัยก่อน... ผู้คนทั้งหลายเรียกว่าดงยาง (เป็นดงเป็นป่ามีต้นยางมาก) ชาวบ้านในระแวกโดยรอบมาจับจอง (ถากถางป่าผู้ใดถากถางใด้มากก็เรียกว่าเจ้าของ) เป็นที่ทำไร่ยาสูบเตอร์กีช, ปลูกผัก, ปลูกมัน, สามารถสร้างรายได้พอเลี้ยงชีวิตได้ตามอัตภาพ
           กาลเวลาผ่านไป ที่ดินบริเวณนี้ถูกจับจองเป็นที่ทำมาหากินจนหมด  หลวงปู่อุทัย  กิตฺติโก (เจ้าอาวาสวัดป่าศรีมงคล โคกร้าง) มีความเห็นว่า "ที่ราชพัสดุนี้ ควรจะเป็นสาธารณะประโยชน์ให้กับผู้คนทั่วไป"  ปีพุทธศักราช 2543 จึงได้กั้นเป็นอาณาเขตทำถนนและรั้วล้อมรอบบนเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ เริ่มปลูกป่าโดยใช้ชื่อว่า "โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ" มีชาวบ้าน หน่วยงานข้าราชการ ทหาร ตำรวจ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด  ร่วมโครงการนี้อย่างพร้อมเพรียง
           และในปีนั้นหลวงปู่อุทัย ได้จำพรรษาในพื้นที่ปลูกป่าแห่งนี้ เมื่อมีพระมาอยู่จำพรรษาที่ใดชาวบ้านในสังคมชาวอีสานมักจะเรียกสถานที่นั้นว่า วัด, หรือที่พักสงฆ์, จึงเป็นที่มาของคำว่า วัดดงยาง, ที่พักสงฆ์ดงยาง, ในปีต่อมาหลวงปู่อุทัยได้กลับไปจำพรรษาและทำหน้าที่เจ้าอาวาส ณ วัดป่าศรีมงคล (วัดโคกร้าง) ท่านได้ส่งพระภิกษุมาอยู่จำพรรษา และรักษาป่าไม้ที่วัดดงยาง 1 รูป คือหลวงตาบุญร่วม ธมฺมคุตฺโต ต่อมาเจ้าคณะตำบลสวนจิก อ.ศรีสมเด็จ ได้ประกาศแต่งตั้งให้หลวงตาบุญร่วม รักษาการณ์ เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

           คำว่า "วัดป่าดงยาง" เกิดขึ้น หลวงตาบุญร่วมได้อยู่ดูแลรักษาป่าไม้ให้เติบโตยิ่งฯขึ้น ทำให้ผู้คนและสัตว์ต่างฯที่มาอยู่อาศัยได้รับความร่มรื่นจากต้นไม้ใหญ่ พร้อมกับทำหน้าที่ของบรรพชิต ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเรื่อยมา คำว่า วัดป่าดงยาง จึงเกิดขึ้น หลวงตาบุญร่วมมีอุดมการณ์ที่มั่นคง ขณะที่ท่านอาพาธอยู่บรรดาญาติพี่น้องและผู้คนทั่วไปต่างขอร้องให้ท่านสึกจากเพศบรรพชิตเพื่อเข้ารับการรักษาตัวให้หายจากโรค หลวงตาบุญร่วมได้ตั้งปณิธานใว้ว่า "หากเราจะตาย ก็จะขอตายในเพศบรรพชิต" จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ลมหายใจเฮือกสุดท้ายของท่านก็สิ้นลง ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของคณะศรัทธาญาติโยม ญาติพี่น้อง ที่มีความเคารพศรัทธาในความเป็นท่าน คงเหลือใว้แต่คุณงามความดี คู่กับป่าไม้ที่ร่มรื่นเจริญขึ้นเรื่อยฯ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำว่า "วัดป่าดงยาง" ให้ผู้คนทั้งหลายกราบไหว้บูชา ระลึกถึงคุณงามความดีที่หลวงตาบุญร่วม ธมฺมคุตฺโต ได้สร้างใว้ จากยุคของท่านที่ผ่านไป.. สู่ปัจจุบัน.. อนาคต.. ยุคของผู้มีอุดมการณ์ สืบต่อไป.

คณะผู้มีพลังศรัทธาสร้างยุคเริ่มแรกของ "วัดป่าดงยาง" เหมือนใบไม้ที่ทยอยร่วงหล่นสู่พื้นทีละใบ.. ทีละใบ.และรอวันเวลาที่จะร่วงหล่นต่อไป.

แถวบนเริ่มจากขวามือ 1.พ่อใหญ่หื่อ(เสียชีวิตแล้ว) 2.พ่อใหญ่ทอง(ยังมีชีวิตอยู่) 3.พ่อแพง ศรีมงคล(เสียชีวิตแล้ว) 4.พ่อใหญ่ลุน(ยังมีชีวิตอยู่) 5.หลวงตาบุญร่วม(มรณะภาพแล้ว) 6.พ่อใหญ่ดาว(ยังมีชีวิตอยู่) 7.พ่อใหญ่เนา(ยังมีชีวิตอยู่) 8.พ่อใหญ่วี(เสียชีวิตแล้ว) 9.พ่อใหญ่อาน(ยังมีชีวิตอยู่)  นั่งล่างเริ่มจากขวามือ 1.ยายหลวน(ยังมีชีวิตอยู่)  2.ยายหมั่น(ยังมีชีวิตอยู่)

อนุสรณ์แห่งคุณงามความดี ของหลวงตาบุญร่วม ธมฺคุตฺโต

       เริ่มนับต่อกับ... เวลาที่ผ่านไปของทุกฯชีวิต และทุกสรรพสิ่ง หลังจากงานฌาปนกิจศพหลวงตาบุญร่วมเสร็จสิ้นลง วัดป่าดงยางก็กลับสู่สภาพเดิม ผู้มาร่วมงานทั้งหมดต่างก็กลับไปทำหน้าที่ของตนเอง พระภิกษุท่านก็กลับวัดทำหน้าที่เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งพระสัทธรรม ครูอาจารย์ท่านก็กลับไปทำหน้าที่อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ให้ใช้ชีวิตตั้งอยู่ในความไม่ประมาทให้มีคุณธรรมและจริยธรรม ชาวบ้านเกือบทั้งหมดที่เป็นชาวไร่ชาวนา ก็กลับไปประกอบอาชีพตามวิถีแห่งชีวิตที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ในหัวใจทุกฯดวงของเขาเหล่านั้นล้วนมีความหวังว่า"จะได้พบกับความสุขและความสำเร็จตามที่หวัง" แล้วเขาเหล่านั้นจะได้พบกับความสมหวังดั่งที่เขาปรารถนาหรือไม่ ใครล่ะ!.. จะเป็นผู้ให้คำตอบที่ถูกต้องอย่างถาวร...

         บุญที่เราสั่งสมต่างหาก ที่จะสามารถนำพาชีวีตสู่ความสำเร็จในทุกประการ ความงดงามที่ถูกต้องและบริสุทธิ์ทางใจเรามีพร้อมหรือยัง, ความงดงามที่ถูกต้องและบริสุทธิ์ทางวาจาเรามีพร้อมหรือยัง, ความงดงามที่ถูกต้องและบริสุทธิ์ทางกายเรามีพร้อมหรือยัง, บุญกุศลที่เราสั่งสมครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว จะนำพาชีวิตพบกับแสงสว่างแห่งปัญญา และดำเนินไปตามครรลองสู่ความสำเร็จ ตามเหตุและผลแห่งบุญที่ทุกคนมีแตกต่างกัน.

       ห้องสุขานั้นสำคัญไฉน (ห้องน้ำ) ในค่ำคืนแรกที่วัดป่าดงยาง หลังจากที่ได้รับอนุญาตจากพระผู้เปี่ยมด้วยเมตตา(เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยกองมู ซึ่งได้สังกัดอยู่ที่นั่น)ให้สามารถมาจำพรรษาเพื่อโปรดแม่บังเกิดเกล้าที่ขณะนี้ชรามากแล้ว เมื่อมาถึงวัดป่าดงยางแล้วได้เลือกสถานที่  ที่อยู่กลางป่าเป็นที่จำวัด(พักหลับนอน) ชาวบ้านที่มีศรัทธาในบุญได้พากันช่วยสร้างกุฏิขึ้นตามอัตภาพดั่งในรูป ทำให้คิดถึงวิธีการสอนของพระอาจารย์ที่ปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ในสมัยเมื่อครั้งบวชใหม่ฯ ครั้งนั้นมีพระภิกษุเข้าค่ายเก็บอารมณ์ (ภาษาสายงานการปฏิบัติ เจริญสติแนวหลวงพ่อเทียน) จำนวน 50 รูป  ณ ป่าแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากผาน้ำย้อย อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ประมาณ 12 กิโลเมตร กิจวัตรการเข้าค่ายเก็บอารมณ์เข้มนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติจริงฯ เริ่มตั้งแต่ตื่น 03.00 น ทำความเพียร

ค่ำคืนแรกกับกุฎิกลางป่า กับห้องสุขาธรรมชาติแบบอีสานเดิมฯ

เวลา 07.00 นรับการให้อารมณ์กรรมฐานจากพระอาจารย์ และรับภัตตาหารพิจารณาให้พอดีกับร่างกายต้องการ (ไม่ใช่พอดีกับกิเลส) นำไปพิจารณาฉันเอง บางรูปฉันบนสะพานที่สร้างขึ้นเองยื่นเข้าไปในหนองน้ำใช้สำหรับสรงน้ำ บางรูปฉันหน้ากรดบ้าง ฉันในป่าตามร่มไม้บ้าง และในกรดบ้าง การพิจารณาหาความพอดีให้กับตนเองใช้เวลานานมาก กว่าจะพบกับความพอดีต้องใช้เวลาถึง 7 วัน 7 ครั้งด้วยกัน หลังจากล้างบาตรสร็จแล้วเข้าสู่ทางเดินจงกลม ทำความเพียรจนถึง 17.00 น. จึงออกจากป่ากลับสู่กรดและสรงน้ำ (ในหนองน้ำมีปลิงเยอะเสียด้วย) ชำระร่างกายเรียบร้อย เดินจงกลม, เจริญสติ, จนถึงเวลา 21.00 น. พักผ่อนหลับนอน เป็นอันจบสำหรับหนึ่งวัน ปฏิบัติอยู่เช่นนั้นจนจบคอร์ส 43 วัน การที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้เพียงเพื่อจะบอกถึงสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดคือห้องสุขา (ส้วม) ใช้กันอย่างไร คำตอบคือ ใช้เสียมขุดเป็นหลุมลึกลงไปครึ่งเมตร  ปากหลุมขนาดพอดีฯของแต่ละรูปที่แตกต่างกัน เมื่อใช้เสร็จแต่ละครั้งต้องโรยกลบด้วยดินแห้งเพื่อกันแมลงวัน หนึ่งหลุมสุขามีอายุการใช้งานตั้งแต่ 10 วัน ถึง 20 วัน ขึึ้นอยู่กับการขบฉันที่มากน้อยแตกต่างกัน พระภิกษุทุกรูปต่างรักษาอนามัยเป็นอย่างดีมากฯคือ "ไม่ใช้หลุมสุขาร่วมกัน"

เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย เริ่มจากห้องน้ำ.

       ตั้งแต่ค่ำคืนแรกที่วัดป่าดงยาง ได้ใช้หลุมสุขาเรื่อยมา ในความเป็นธรรมชาติของป่าขณะที่หลุมสุขากำลังถูกใช้งานยามค่ำคืน บรรดาเจ้ายุงแสนซนพาพวกคณะมารบกวนแย่งอาณาเขตอยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดการสู้รบเป็นระยะ ฯ ผลัดกันแพ้ชนะอยู่เช่นนั้นตลอดมา จนในที่สุด .....

การเกิดขึ้นดำเนินเรื่อยมา...
คุณศิริเพ็ญ แซ่เฮ้ง (เจ้าภาพห้องน้ำ)
จากกรุงเทพมหานคร.

ภาพในพรรษา ปี 2556

อีกมุมหนึ่ง ของความสงบ สงัด กับกุฏิกลางป่า

อีกมุมหนึ่งของกุฏิกลางป่า กับรั้วลวดหนาม

ความพร้อม และสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน

วันนี้.ขณะนี้.. ขอบคุณทุกฯคำสอน.