หลังงานต้อนรับ ผ้าป่าสามัคคีจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้นมา  ที่วัดป่าดงยางเข้าสู่ความเป็นอยู่ ที่เรียกว่าปกติเช่นเดิม  นักบวชเช่นแม่ชี ก็กลับสู่สังกัดวัดเดิม  ศรัทธาญาติโยมจากต่างจังหวัด ต่างอำเภอ ต่างตำบล ที่มาช่วยงานต้อนรับคณะผ้าป่า ก็กลับสู่เคหะสถานประกอบอาชีพของตนเอง  รวมทั้งญาติโยมที่อยู่รอบๆละแวกวัด ก็กลับสู่บ้านเรือนของตน ประกอบอาชีพหลักของชาวไร่ชาวนา เช่นเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเป็นต้น

                  ลักษณะความจริง3ประการ ที่ภาษาธรรมเรียกว่า "กฏไตรลักษณ์" กฎเกณฑ์ความเป็นจริงของธรรมชาติที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้  เสนาสนะต่างๆที่เกิดขึ้นบนผืนป่า ที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าวัดป่าดงยาง ก็มีความทรุดโทรมเป็นธรรมดา การดูแลรักษา การซ่อมแซม เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ที่เรียกว่านักบุญ มีกำลัง มองเห็นคุณค่า  จิตดวงนั้นอาจจะมีกายเป็นนักบวชหรือฆราวาสก็เป็นได้

                  เมื่อถึงฤดู "เก็บเห็ด" วัดป่าดงยางยังคงเป็นสวนครัวเล็กๆ  ที่ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงนิยมมาเก็บเห็ด ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนเป็นปกติเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

                  สำหรับนักบวชในพุทธศาสนาแล้ว  สถานที่แห่งนี้มีความเป็นธรรมชาติ เป็นสัปปายะที่พร้อมเหมาะสำหรับผู้ที่เห็นโทษของสงคราม ความขัดแย้งวุ่นวายในสังคม และมีจิตใจที่แน่วแน่หนักแน่น ที่จะฝึกฝนจิตใจตนเองให้ถึงความสงบอย่างมีสติ โดยมีหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง  ก็อาจจะขึ้นอยู่กับบุญทำกรรมแต่งของแต่ละคนที่เห็นแตกต่างกัน  เพราะบางคนอาจจะเหมาะเป็นผู้ครองเรือน แสวงหาความสุข สนุกสนานแบบโลกๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม

วันที่ 5 กรกฎาคม 2566

         คุณพัชรียา กิจการณ์เจริญชัย ทำบุญค่าน้ำค่าไฟ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จำนวน 2,566 บาท  เมนูคุณพัชรียา

 

 

วันที่ 27 มิถุนายน 2566

         แม่ล้อม ปัญญดา สัมมิตร  ซื้ออาหารแมวถวายวัด 1 กระสอบ

 

 

 

วันที่ 28 มิถุนายน 2566

         แม่ชีอุ๊  ถวายถังต้มน้ำไฟฟ้าขนาดความจุ 11 ลิตร 1 ถัง

 

บันทึกในไดอารี่