|
|
|
| คลื่นที่ไม่กระทบฝั่ง ณ วัดป่าดงยาง ด้วยสภาพความแห้งแล้งในอดีตดั่งปรากฏในภาพ ด้วยความตั้งใจที่มุ่งมั่นของบรรพบุรุษ ทั้งที่ถึงแก่กรรมแล้วและที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ ที่ได้ร่วมกันสรรค์สร้างจนกลายเป็นป่าที่มีต้นไม้จำนวนมาก บนพื้นที่สามร้อยไร่ สามารถให้ความร่มรื่นร่มเย็นแก่สรรพสัตว์นาฯชนิด และเป็นซูปเปอร์มาเก็ต เป็นสถานที่ช็อปปิ้งของชาวบ้านหลายฯหมู่บ้านในละแวกโดยรอบ เป็นแหล่งเกิดอาหารเช่น ใข่มดแดง, แย้, กะปอม, ผึ้ง, แมงกีนูน, แมงเหลี่ยม, ผักติ้ว, หน่อไม้, และเห็ดนาฯชนิด, เป็นต้น แม้ผู้เขียนเองยังได้อาศัยสถานที่แห่งนี้ เป็นที่พักหลับนอนบำเพ็ญคุณงามความดี ตามกำลังและโอกาสจนถึงปัจจุบัน. | | | | ภาพความทรงจำเมื่อครั้งอดีต (ภาพปีพุทธศักราช 2537) หลายคนหลายชีวิตในภาพนี้ที่ปัจจุบันได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีที่สร้างไว้ ให้ลูกฯหลานฯได้พัฒนาจากความแห้งแล้งกันดาร สู่ความเป็นส่วนหนึ่งของอีสานเขียว | |
|
|
| | | | เริ่มจากปี พศ. 2537 | เพื่อความเป็นป่า | 26 กุมภาพันธ์ 2557 |
| |
|
|
| | ประวัติ วัดป่าดงยาง เป็นที่ราชพัสดุ มีเนื้อที่ 300 ไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ลักษณะเป็นเนินที่ราบสูง อยู่กึ่งกลางระหว่าง 3 ตำบลคือ 1 ต.สวนจิก 2 ต.หนองใหญ่ 3 ต.เมืองเปลือย อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด และอยู่กึ่งกลางระหว่าง 5 หมู่บ้าน คือ 1.บ้านหนองม่วง (ทิศตะวันออก) 2.บ้านท่าแร่ (ทิศใต้) 3.บ้านกอก (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) 4.บ้านเหล่าอาราง (ทิศตะวันตก) 5.บ้านเหล่ากลาง (ทิศเหนือ) สมัยก่อนผู้คนทั้งหลายเรียกว่าดงยาง (เป็นดงเป็นป่ามีต้นยางมาก) ชาวบ้านในระแวกโดยรอบมาจับจอง (ถากถางป่าผู้ใดถากถางใด้มากก็เรียกว่าเจ้าของ) เป็นที่ทำไร่ยาสูบเตอร์กีช, ปลูกผัก, ปลูกมัน, สามารถสร้างรายได้พอเลี้ยงชีวิตได้ตามอัตภาพ กาลเวลาผ่านไป ที่ดินบริเวณนี้ถูกจับจองเป็นที่ทำมาหากินจนหมด หลวงปู่อุทัย กิตฺติโก (เจ้าอาวาสวัดป่าศรีมงคล โคกร้าง) มีความเห็นว่า "ที่ราชพัสดุนี้ ควรจะเป็นสาธารณะประโยชน์ให้กับผู้คนทั่วไป" ปีพุทธศักราช 2543 จึงได้กั้นเป็นอาณาเขตทำถนนและรั้วล้อมรอบบนเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ เริ่มปลูกป่าโดยใช้ชื่อว่า "โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ" มีชาวบ้าน หน่วยงานข้าราชการ ทหาร ตำรวจ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมโครงการนี้อย่างพร้อมเพรียง และในปีนั้นหลวงปู่อุทัย ได้จำพรรษาในพื้นที่ปลูกป่าแห่งนี้ เมื่อมีพระมาอยู่จำพรรษาที่ใดชาวบ้านในสังคมชาวอีสานมักจะเรียกสถานที่นั้นว่า วัด, หรือที่พักสงฆ์, จึงเป็นที่มาของคำว่า วัดดงยาง, ที่พักสงฆ์ดงยาง, ในปีต่อมาหลวงปู่อุทัยได้กลับไปจำพรรษาและทำหน้าที่เจ้าอาวาส ณ วัดป่าศรีมงคล (วัดโคกร้าง) ท่านได้ส่งพระภิกษุมาอยู่จำพรรษา และรักษาป่าไม้ที่วัดดงยาง 1 รูป คือหลวงตาบุญร่วม ธมฺมคุตฺโต ต่อมาเจ้าคณะตำบลสวนจิก อ.ศรีสมเด็จ ได้ประกาศแต่งตั้งให้หลวงตาบุญร่วม รักษาการณ์ เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา | คำว่า "วัดป่าดงยาง" เกิดขึ้น หลวงตาบุญร่วมได้อยู่ดูแลรักษาป่าไม้ให้เติบโตยิ่งฯขึ้น ทำให้ผู้คนและสัตว์ต่างฯที่มาอยู่อาศัยได้รับความร่มรื่นจากต้นไม้ใหญ่ พร้อมกับทำหน้าที่ของบรรพชิต ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเรื่อยมา คำว่า วัดป่าดงยาง จึงเกิดขึ้น หลวงตาบุญร่วมมีอุดมการณ์ที่มั่นคง ขณะที่ท่านอาพาธอยู่บรรดาญาติพี่น้องและผู้คนทั่วไปต่างขอร้องให้ท่านสึกจากเพศบรรพชิตเพื่อเข้ารับการรักษาตัวให้หายจากโรค หลวงตาบุญร่วมได้ตั้งปณิธานใว้ว่า "หากเราจะตาย ก็จะขอตายในเพศบรรพชิต" จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ลมหายใจเฮือกสุดท้ายของท่านก็สิ้นลง ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของคณะศรัทธาญาติโยม ญาติพี่น้อง ที่มีความเคารพศรัทธาในความเป็นท่าน คงเหลือใว้แต่คุณงามความดี คู่กับป่าไม้ที่ร่มรื่นเจริญขึ้นเรื่อยฯ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำว่า "วัดป่าดงยาง" ให้ผู้คนทั้งหลายกราบไหว้บูชา ระลึกถึงคุณงามความดีที่หลวงตาบุญร่วม ธมฺมคุตฺโต ได้สร้างใว้ จากยุคของท่านที่ผ่านไป สู่ความเป็นปัจจุบันในวันนี้. | |
|
| |
| |