คลื่นที่ไม่กระทบฝั่ง  ณ วัดป่าดงยาง ด้วยสภาพความแห้งแล้งในอดีตดั่งปรากฏในภาพ ด้วยความตั้งใจที่มุ่งมั่นของบรรพบุรุษ ทั้งที่ถึงแก่กรรมแล้วและที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ ที่ได้ร่วมกันสรรค์สร้างจนกลายเป็นป่าที่มีต้นไม้จำนวนมาก บนพื้นที่สามร้อยไร่ สามารถให้ความร่มรื่นร่มเย็นแก่สรรพสัตว์นาฯชนิด และเป็นซูปเปอร์มาเก็ต เป็นสถานที่ช็อปปิ้งของชาวบ้านหลายฯหมู่บ้านในละแวกโดยรอบ เป็นแหล่งเกิดอาหารเช่น ใข่มดแดง, แย้, กะปอม, ผึ้ง, แมงกีนูน, แมงเหลี่ยม, ผักติ้ว, หน่อไม้, และเห็ดนาฯชนิด, เป็นต้น
               แม้ผู้เขียนเองยังได้อาศัยสถานที่แห่งนี้ เป็นที่พักหลับนอนบำเพ็ญคุณงามความดี ตามกำลังสติปัญญาที่พอมีอยู่บ้าง

ภาพความทรงจำเมื่อครั้งอดีต (ภาพปีพุทธศักราช 2543) หลายคนหลายชีวิตในภาพนี้ที่ปัจจุบันได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว
คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีที่สร้างไว้  ให้ลูกฯหลานฯได้พัฒนาจากความแห้งแล้งกันดาร สู่ความเป็นส่วนหนึ่งของอีสานเขียว

จากที่สาธารณะประโยชน์ (ภาพปี พศ2543)สู่ความเป็นวัดป่าดงยาง ในปัจจุบันนี้ถัดมาอีก 14 ปี (ภาพ 26 กุมภาพันธ์ 2557)
 

             คอนตะกร้าพาจังหัน เดินข้ามทุ่งนาระยะทาง 2 กิโลเมตร กับบรรยากาศทีมีอยู่มากโดยทั่วไปเมื่อนับสิบปีที่ผ่านมา แม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังพอมีอยู่บ้างตามชนบทในสังคมของชาวไร่ชาวนา เมื่อถวายจังหันแล้วก่อนกลับบ้านยังได้ ไปเดินช็อปปิ้งในซูปเปอร์มาเก็ต (หาเห็ดอยู่ในป่า) กลับบ้านพร้อมเห็ดนาฯชนิด นำไปปรุงเป็นอาหารจานเด็ดในมื้อต่อไป ตามวิถีแห่งชนชาวชนบท!  ดูภาพความเป็นปัจจุบันวันนี้ที่ผ่านไปแล้ว