"บักจ๊กเฮี่ยน" เป็นภาษาอีสาน แปลเป็นภาษากลางก็คือ "จอบ ที่ผ่านการใช้งานจนเหลือส่วนที่ต้องใช้ต่อไปน้อย" เฮี่ยน แปลว่า สั้น ภาพที่เห็นอยู่นี้ได้ถูกถ่ายใว้วันที่ 18 พฤษภาคม 2557  แต่... วันที่เขียนอยู่ขณะนี้คือ 27 มิถุนายน เวลาผ่านมาถึงเดือนกว่าแล้ว เรื่องราวต่างฯที่จะเขียนนั้นก็เลอะเลือนไปมากอยู่ เรื่องที่จำได้ชัดอยู่เช่นเดิมคือ "ปัจจุบันนี้พอรู้จักการใช้จอบตามวิถีของพระป่าบ้านนอกชนบทอยู่พอสมควร" ต่างกว่าแต่ก่อนคิดว่าการใช้จอบใช้เสียมขุดดิน ยุ่งอยู่กับการก่อสร้าง อิฐหินปูนทราย ไม่ใช่หน้าที่ของพระ บักจ๊กเฮี่ยนที่เห็นดังภาพอยู่นี้ ปัจจุบันถูกธรรมชาติแยกส่วน ไม่มีสภาพของความเป็น "บักจ๊กเฮี่ยน" อีกต่อไปแล้ว และไม่สามารถใช้งานขุดดินเช่นเดิมได้อีกแล้ว นอกจากเอาไปทำฟืน แลกหนังยางวงใหญ่ใส่ก้องแขน และเอาไปแลก "ไข่ขี้เกี้ยม"

รูปร่างหน้าตาของ "บักจ๊กเฮี่ยน" (จอบสั้นเหลือน้อย)

 รูปร่างหน้าตาของ "บักจ๊กเฮี่ยน" (จอบสั้นเหลือน้อย)

                   "บักจ๊กเฮี่ยน" ก่อนที่จะสิ้นสภาพ ก็ได้สร้างความงามตามธรรมชาติของวิถีชีวิตของการอยู่ป่าเช่น การเกิดของต้นผักติ้ว, ต้นหัวจิ๊งใคร้, ต้นผักขา, และอีกหลายฯชนิด การเกิดขึ้นของต้นไม้ และผักชนิดต่างฯ ก็อาจสามารถเป็นอาหารทางจิตวิญญาณได้ สำหรับผู้มีปัญญา และโยนิโสมนสิการ ไม่ต่างกับการทำบุญให้ทานเหมือนกับที่ผู้คนส่วนมากนิยมทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ต้องขอบคุณเหตุการณ์หลายฯอย่างในชีวิตของการออกจาริกตั้งแต่พรรษาที่ 2 ที่ทำให้เห็นคุณค่าชีวิตของชนบท และประเพณีวัฒนธรรมเสียงพิณ เสียงแคน ของชาวอีสานบ้านเฮา จนในที่สุดจึงออกจากสังคมที่มีพร้อมทั้งความสุขสบาย เดินทางสู่ดินแดนอีสานบ้านเกิด สู่อ้อมกอดของธรรมชาติ ดังที่เห็นในรูปภาพ

                   ถึงแม้ชนบทของอีสานบ้านเฮา สมัยก่อนจะถูกขนานเรียกว่า เป็นดินแดนของความแห้งแล้ง เวลาจะหารายได้มีงานทำ อยากมีเสื้อผ้าสวยฯงามฯใส่ ต้องเดินทางสู่ "แดนศิวิไล คือกรุงเทพมหานคร"  แต่.. หากผู้ใดสามารถค้นพบ และสามารถอยู่กับแดนศิวิไลที่อยู่ภายในหัวใจของตนเองได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปแสวงหาที่อื่นเลย เพราะเมื่อเราอยู่ที่ใดแดนศิวิไลก็ติดตามเราไปทุกหนทุกแห่ง

ต้นผักขา (ชะอม) กับธรรมชาติวันนี้.

ผลงานของ "บักจ๊กเฮี่ยน" ภาพ 19 พฤษภาคม 2557

ต้นผักติ้ว ผักขา ลีลาวดี กับธรรมชาติวันนี้.

ผลงานของ "บักจ๊กเฮี่ยน" ภาพ 19 พฤษภาคม 2557

                      แล้วในที่สุด ในวันวิสาขบูชาก็มีคณะศรัทธาดังที่เห็นในภาพ มาร่วมสวดมนต์ เจริญภาวนาตั้งแต่เช้าตรู่ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ของวันวิสาขบูชา กลับบ้านในเช้าวันรุ่งขึ้น  ทำให้เห็นความตั้งใจที่มั่นคงต่อของการปฏิบัติกรรมฐาน เพราะคณะศรัทธาเหล่านั้น (ดั่งที่เห็นในภาพ) พากันยกเลิกบวชชีพราหมณ์ในงานพุทธาภิเษก ที่มีอยู่ในละแวกเดียวกันและในวันวิสาขบูชาเช่นเดียวกัน

ความมั่นคงของศรัทธา ร่วมทำวัตรสวดมนต์ เช้าวันวิสาขบูชา  ภาพเช้าวันที่ 13 พฤษภาคม 2557.

ความมั่นคงของศรัทธา ร่วมทำวัตรสวดมนต์ เช้าวันวิสาขบูชา
ภาพเช้าวันที่ 13 พฤษภาคม 2557

รักษาศีล เจริญภาวนาวันวิสาขบูชา ยามเช้าเดินจงกลม  ภาพเช้าวันที่ 14 พฤษภาคม 2557.

รักษาศีล เจริญภาวนาวันวิสาขบูชา ยามเช้าเดินจงกลม
ภาพเช้าวันที่ 14 พฤษภาคม 2557

 

                     เมื่อได้มาดูแล ในสิ่งที่คิดว่า "ไม่ใช่งาน ไม่ใช่หน้าที่ของพระ"   วันนี้ (7 พฤษภาคม 2557) หลังจากทำวัตรสวดมนต์เช้าเสร็จแล้ว ได้เดินไปตามเส้นทางที่ตัดใหม่ภายในวัด ได้พิจารณาดูถึงความคืบหน้าของสถานที่ ที่ถมดินเตรียมสำหรับสร้างกุฏิใช้เป็นที่พักอาศัยของเจ้าอาวาสตามความตั้งใจของคณะศรัทธา ตั้งแต่มาอยู่อาศัยจำพรรษาที่วัดป่าดงยางแห่งนี้ เคยคิดอยู่เสมอว่า "เอ.. เดี๋ยวนี้เราต้องมาดูแล งานก่อสร้างแล้วหรือนี่.. ใช่หน้าที่ของพระหรือเปล่านี่"
                    ถึงแม้จะได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะตำบลให้ทำหน้าที่ "รักษาการเจ้าอาวาส" ตามมารยาทของสังคมก็ตาม หลายฯเหตุการณ์ในชีวิตของนักบวช มีเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้ต้องแสดงบทไปตามโรงละครของโลกมนุษย์ เช่นในปัจจุบันนี้บางครั้งแสดงเป็นเจ้าอาวาส, บางครั้งแสดงเป็นสามเณร, บางครั้งก็แสดงเป็นภารโรง, เป็นมัคนายก, เป็นหัวหน้างานก่อสร้าง, เป็นกรรมกร, และฯลฯ. คงจะเป็นเพราะวัดนี้เป็นวัดที่เริ่มสร้างใหม่ ไม่มีกรรมการวัดคอยดูแล ไม่มีชาวบ้านมาอุปฐาก อุปถัมป์เหมือนวัดบ้านทั่วฯไปกระมัง

บริเวณพื้นที่ ที่ถมดินแล้ว เตรียมสร้างกุฏิที่พักอาศัยเจ้าอาวาส (ภาพวันที่ 7 พฤษภาคม 2557)

 บริเวณพื้นที่ ที่ถมดินแล้ว เตรียมสร้างกุฏิที่พักอาศัยเจ้าอาวาส (ภาพวันที่ 7 พฤษภาคม 2557)

กุฏิหลังปัจจุบัน (ภาพวันที่ 7 พฤษภาคม 2557)
กุฏิหลังปัจจุบัน

เส้นทางสายใหม่ ทะลุกลางป่า (ภาพวันที่ 7 พฤษภาคม 2557)

เส้นทางสายใหม่ ทะลุกลางป่า

ที่พักเมื่อครั้งมาอยู่แรกฯ ก่อนเข้าพรรษา 5 วัน  ปี 2556.

ที่พักเมื่อมาอยู่แรกฯ

กุฏิที่พักของคณะแสวงบุญ 1 (ภาพวันที่ 7 พฤษภาคม 2557)

 กุฏิที่พักของคณะแสวงบุญ 1

เตรียมสร้างกุฏิเจ้าอาวาส (ภาพวันที่ 7 พฤษภาคม 2557)

เตรียมสร้างกุฏิเจ้าอาวาส

กุฏิที่พักของคณะแสวงบุญ 2 (ภาพวันที่ 7 พฤษภาคม 2557)

 กุฏิที่พักของคณะแสวงบุญ 2

                  เมื่อเดินทางกลับสู่วัด หลังจากได้ไปปฏิบัติศาสนกิจเสร็จสิ้นลงแล้ว กลับมาอยู่ท่ามกลางบรรยากาศแบบป่า ป่า ตามอัตภาพวิถีชีวิตที่เลือกแล้ว พิจารณาดีแล้ว ก้าวเดินไปข้างหน้าทั้งทางจิตวิญญาณ, ทางกาย, ต่อไป และต่อไป...  แม้เส้นทางจะขรุขระ ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบก็ตาม

ภาพวันที่  2 พฤษภาคม 2557

 กุฏิที่พักบังแดด, หลบฝน, วันนี้  ย่างเข้าสู่ช่วงฤดูฝน สีเขียวของใบไม้เริ่มผลิ กับบรรยากาศของความสงบแบบป่า ป่า

ภาพวันที่  2 พฤษภาคม 2557

 หลังจากหลวงตาร่วม ธมฺมคุตฺโต มรณะภาพแล้ว สภาพกุฏิที่ร้างว่างเปล่าจนถึงปัจจุบัน
 

ภาพวันที่  2 พฤษภาคม 2557

กุฏิที่พักกลางป่า ใช้เพื่อต้อนรับคณะนักปฏิบัติธรรม เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

 

ภาพวันที่  2 พฤษภาคม 2557

กุฏิที่พักของคณะแสวงบุญ สร้างด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว ใช้เป็นที่พักเมื่อมาทำบุญ